เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 8.สหธรรมิกวรรค 6.อมูลกสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[461] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ คือ ภิกษุอื่น
ที่ชื่อว่า ไม่มีมูล คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้นึกสงสัย
คำว่า อาบัติสังฆาทิเสส คือ ด้วยสังฆาทิเสส 13 สิกขาบท ข้อใดข้อหนึ่ง
คำว่า ใส่ความ ได้แก่ ภิกษุโจทเอง หรือสั่งผู้อื่นให้โจท ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[462] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ใส่ความด้วยอาบัติสังฆาทิเสส
ที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ใส่ความด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ใส่ความด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มี
มูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุใส่ความด้วยอาจารวิบัติหรือทิฏฐิวิบัติ1 ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุใส่ความอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

เชิงอรรถ :
1 “อาจารวิบัติ” คือมีความประพฤติเสียหาย ต้องอาบัติเล็กน้อย คืออาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ
ทุกกฏ ทุพภาสิต “ทิฏŸิวิบัติ” คือความเห็นที่คลาดเคลื่อนผิดธรรมผิดวินัย (วิ.อ. 3/84/48-49)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :563 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 8.สหธรรมิกวรรค 6.อมูลกสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[463] 1. ภิกษุสำคัญว่าเป็นเรื่องจริง โจทเองหรือใช้ผู้อื่นให้โจท
2. ภิกษุวิกลจริต
3. ภิกษุต้นบัญญัติ

อมูลกสิกขาบทที่ 6 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :564 }